When Green is at your door เจาะลึกการทำธุรกิจเดินทางแบบใหม่ ในวันที่การอนุรักษ์ครองใจผู้คนกับคุณจักรพงษ์ ชินกระโทก แห่ง Find Folk

Author : MICE Intelligence Team
Views 5223 | 31 Jan 2023

ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้น จากที่ทุกคนเริ่มสัมผัสได้ว่าทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากถูกทำลาย โดยงานสำรวจของบริษัท SAP Concur บริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านการเดินทาง และการจัดการค่าใช้จ่ายแก่ธุรกิจต่าง ๆ พบว่า ในปี 2566 นักเดินทางไมซ์จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific - APAC) ร้อยละ 95 ต้องการออกแบบการเดินทางเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมไมซ์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Green Travel) สะท้อนถึงการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ประเทศไทยมีการตอบรับความนิยมนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยว โดยหนึ่งในตัวอย่างของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นั่นคือ บริษัท ฟายด์ โฟล์ค จำกัด (Find Folk) จากการเป็นทั้งที่ปรึกษา ผู้ออกแบบการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้สนับสนุนโครงการ Low Carbon Tourism ซึ่งวันนี้เราอยู่กับ คุณจักรพงษ์ ชินกระโทก CEO & Founder บริษัท ฟายด์ โฟล์ค จำกัด ที่จะมาแชร์มุมมอง และแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งกำไรทางธรรมชาติมากกว่ากำไรขององค์กร 


th-th.facebook.com FindFolk

ความหวังฟื้นประเทศไทย ด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และอุตสาหกรรมไมซ์ 

ย้อนไปในอดีต การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยังไม่นิยมมากนัก แต่ในปัจจุบันกระแสโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นลมหายใจหลัก การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป

th-th.facebook.com FindFolk

คุณจักรพงษ์ เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในมุมมองของคนที่คลุกคลีในวงการนี้มาตั้งแต่วันที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเคยรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด ซึ่งหากจะกล่าวว่าเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาขับเคลื่อนด้วยการท่องเที่ยวเป็นหลักก็คงไม่ผิด แต่ทำไมความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวยังเป็นรองประเทศอื่น ๆ มุมหนึ่งคือเติบโตเฉพาะตัวเลขทางเศรษฐกิจ แต่การบริหารจัดการทรัพยากรยังเป็นรอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่ธรรมชาติและสังคมนั้นกลับถูกละเลย  

th-th.facebook.com FindFolk

“โจทย์ของเราตอนนี้คือต้องถามตัวเองว่า แม่เหล็กที่เรามีอยู่นั้นเพียงพอที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือไม่ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมองประเทศไทยเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวที่ดีและยั่งยืน”

th-th.facebook.com FindFolk

หากลองพิจารณาถึงข้อได้เปรียบของไทยที่พอจะเป็น “แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว” ที่เราตามหา คุณจักรพงษ์ ให้คำตอบของเรื่องนี้ว่า ความหลากหลายทางชีวภาพและลักษณะเฉพาะตัวของคนไทย เป็นสองปัจจัยสำคัญที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี บวกกับกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการเดินทาง ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะช่วยเพิ่มเสน่ห์และเป็นพลังเสริมให้แม่เหล็กนั้นมีแรงดึงดูดมากขึ้น
อีกมหาศาล

th-th.facebook.com FindFolk

th-th.facebook.com FindFolk

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับอุตสาหกรรมไมซ์ ในบริบท “Now Normal และ Next Normal” 

หากจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับอุตสาหกรรมไมซ์ วันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ “เพราะความยั่งยืนไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่เป็นทางรอด” และกำลังเข้ามาเป็นทั้งปัจจุบันรวมถึงอนาคตของอุตสาหกรรมไมซ์ด้วย กล่าวคือเป็น Now Normal และ Next Normal ไม่ใช่เพียงแค่ New Normal อีกต่อไป

th-th.facebook.com FindFolk

คุณจักรพงษ์ เล่าถึงความสำคัญในการปรับตัวของผู้ประกอบการไมซ์ เพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการอนุรักษ์ และแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับตัวโดยยึดหลัก 3 Go ได้แก่ Go Green รู้จักประหยัดทรัพยากรเพื่อตัวเองและเพื่อโลก Go Advance รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เพิ่มกิจกรรม ให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาอยู่กับเราได้ยาวนานขึ้น และสุดท้าย Go Global เรียนรู้ ปรับตัว และก้าวให้ทันกับกระแสโลก

th-th.facebook.com FindFolk


“คนที่จะชนะในยุคนี้ คือ คนที่จับกับดักอนาคตได้อย่างแม่นยำ ผู้ประกอบการต้องจับให้ได้ว่าโลกกำลังสนใจอะไร หากตอนนี้ทั่วโลกสนใจเรื่องการอนุรักษ์ ต้องคิดต่อว่า กลยุทธ์ใดจะตอบรับกับกระแสนิยมนี้”

th-th.facebook.com FindFolk


Low Carbon Tourism ปรับ ลด ชดเชย เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

คุณจักรพงษ์ ยกตัวอย่างโครงการ Low Carbon Tourism เส้นทางการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Find Folk ทำร่วมกับ Thai MICE Connect และประสบความสำเร็จอย่างมาก

“3 แนวคิดหลักของโครงการ คือ ปรับ ปรับพฤติกรรมการเดินทางในการท่องเที่ยว เช่น การปั่นจักรยาน ทำให้ไม่เสียค่าน้ำมัน เพิ่มเวลาดื่มด่ำกับธรรมชาติ ลด ลดขั้นตอนการผลิตและบริโภค ลดใช้พลาสติก ลดใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย ชดเชย ชวนนักท่องเที่ยวไปทำกิจกรรมดี ๆ เรียนรู้วิถีชุมชน ปลูกต้นไม้หายาก ชดเชยความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ เพราะเราไม่สามารถทำให้การบริโภคเป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดขั้นตอนการผลิตและบริโภคให้น้อยลงกว่าเดิมได้”

th-th.facebook.com FindFolk


https://goodsociety.network/


การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ Inclusive Business ที่ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน

คุณจักรพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายไว้น่าสนใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ธุรกิจที่ได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย เจ้าของทรัพยากรได้ให้ความสุขแก่นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวได้รับความสุขจากการเดินทาง และธรรมชาติเองก็ได้รับการอนุรักษ์

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งที่ต้องแข็งแรงตั้งแต่ฐานล่าง คือ ทรัพยากร และยอดของภูเขา คือ ความสวยงามที่พบเห็น ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะซบเซาลงไปบ้าง แต่ด้วยความอัดอั้นจากการเดินทางในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา บวกกับกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น จะยิ่งทำให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศไทยให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

อ้างอิง: กระแสรักโลกของนักเดินทางไมซ์ https://www.traveldailymedia.com/health-and-safety-top-concern-for-asia-pacific-corporate-travellers/   


Rating :