Designing for a Local Experience ยกระดับอาหารท้องถิ่น ผ่านการออกแบบประสบการณ์ชุมชน สไตล์ “ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ”

Author : MICE Intelligence Team
Views 6460 | 04 Oct 2022

หากพูดถึงเรื่อง Soft Power ของประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่เด่นดังจนสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักนั่นคือ “อาหาร” วัฒนธรรมการกินที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างถิ่นจำนวนมากให้เดินทางมาลิ้มลอง ถือเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

แต่ถ้าเรามองให้ลึกลงไปอีกสักนิด จะเห็นได้ว่าอาหารท้องถิ่นของประเทศไทยล้วนแต่มีเสน่ห์ที่แตกต่างกันออกไป MICE Outlook EP นี้ ชวนทุกคนมาเปิดแนวคิดการยกระดับอาหารท้องถิ่นไทยสู่สากล โดยเราได้เรียบเรียงบทสัมภาษณ์ของ “คุณขาบ-สุทธิพงษ์สุริยะ” ฟู้ดสไตลิสต์ระดับแนวหน้าของเมืองไทยมาให้ได้อ่านกัน

จาก Local สู่เลอค่า มุ่งพัฒนาชุมชน 

www.facebook.com karbbrandin

“Local สู่เลอค่า” สโลแกนคอนเซปต์ขึ้นชื่อสุดปังที่บรรยายถึงจุดยืนของ “คุณขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ” ฟู้ดสไตลิสต์ชาวไทยแห่ง บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด หรือ Karb Studio ได้เป็นอย่างดี ด้วยดีกรีรางวัลออสการ์อาหารโลก หรือกูร์มองด์ อวอร์ดส (Gourmand Awards) จากประเทศฝรั่งเศสติดต่อกัน 15 ปี จนถึงปัจจุบัน ทำให้คุณขาบเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับระดับสากล

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

“ผมเกิดที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแถวนั้นเขาเรียกว่าชุมชนอินโดจีน จะมีผู้คนที่เป็นทั้งลาว เวียด และไทย ผมเองก็คลุกคลีอยู่กับวิถีของอาหารการกินพื้นถิ่นหลายอย่าง แต่ว่าโดยส่วนตัวชอบเรื่องของศิลปะ การออกแบบ และความสวยความงาม ถ้ามองเห็นความงามของวัตถุดิบหรืออาหารเหล่านี้ได้ มันจะเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ”


th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

คุณขาบชื่นชอบและหลงใหลในเรื่องของอาหารและศิลปะการออกแบบ เขานิยามตัวเองว่าเป็นนักออกแบบประสบการณ์ชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างภาพลักษณ์และทำแบรนดิ้งให้กับธุรกิจอาหาร ในรูปแบบที่เรียกว่า Lifestyle Marketing รูปแบบที่เน้นให้อาหารสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ ดูเรียบง่ายแต่มากไปด้วยรสนิยม ไม่เน้นความสวยเกินจริงที่ลดทอนเสน่ห์ของความเป็นท้องถิ่น ตามที่คุณขาบเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า


www.facebook.com karbbrandin

“ผมนิยามตัวเองว่าเป็นนักออกแบบประสบการณ์ชุมชน เป้าหมายของผมคือ สร้างแบรนดิ้งหนึ่งชุมชนหนึ่งแบรนดิ้ง เพราะว่าทุกชุมชนมีของดี มีทุนวัฒนธรรมมากมายนะครับ แต่ว่าไม่สามารถที่จะสื่อสารแล้วตอบโจทย์กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อได้ เพราะว่าเขาขาดประสบการณ์เรื่องของแบรนดิ้ง เราก็นำสิ่งนั้นครับ มาเข้าสู่กระบวนการในเรื่องของการออกแบบ ซึ่งจะทำให้ความเป็น Local ที่ธรรมดา ๆ ดูเลอค่าได้ การออกแบบและการดีไซน์จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันคือ ทำอย่างไรให้ดูเป็นมาตรฐานสากล เรียบ ง่าย งาม แต่อย่าไปทำให้อาหารของชุมชนมีความเว่อร์วังอลังการเกินไป ซึ่งมันไม่ใช่วิถีหรือแก่นรากของเขา”


ส่งออก “บึงกาฬ” สัมผัสวิถีพื้นถิ่น

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

“การที่ผมได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ทำให้ผมเห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นมาตรฐานสากล แต่ผมมองว่าสิ่งที่เป็นมาตรฐานสากล จะต้องไม่ลืมราก อย่าลืมที่มาที่ไปของตัวเอง ผมก็เลยคิดว่า วันหนึ่งเมื่อผมมีความพร้อม ผมต้องกลับไปที่รากเสมอ ผมจึงกลับไปพัฒนาบ้านเกิดทั้งหมู่บ้านเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน เอาศิลปะร่วมสมัยมาพัฒนาหมู่บ้านอีสานธรรมดาให้ว้าวแบบสุด ๆ จนหมู่บ้านได้รางวัลออสการ์ด้านอาหารแห่งเดียวของโลก”


www.matichon.co.th


คุณขาบคร่ำหวอดอยู่ในวงการศิลปะและอาหารมายาวนานกว่า 20 ปี แถมยังมีรางวัลระดับโลกการันตีฝีมือมากมาย แต่ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ที่ว่า เราต้องไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง อย่าลืมที่มาที่ไปของตัวเอง” พร้อมกับอยากเห็นชุมชนบ้านเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน และอยากเห็นอาหารพื้นถิ่นอีสานเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เขาจึงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนชุมชนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย โดยเริ่มต้นทำ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ” เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีสานพื้นถิ่น

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

 travel.mthai.com

 travel.mthai.com

 travel.mthai.com


“เวลาที่นักท่องเที่ยวมาที่หมู่บ้านผม สิ่งหนึ่งที่เขาชอบและฮือฮามากเลยคือ การแปลงกายเป็นคนท้องถิ่น ทุกคนที่มาต้องเปลี่ยนชุด ผู้ชายสวมใส่โสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ส่วนสถานที่จัดประชุมก็เป็นห้องเรียนธรรมชาติ ให้อารมณ์สุดยอดเลยครับ มันมีบริบท มีความงาม มีดีไซน์รอบ ๆ อันนี้คือประสบการณ์ที่ซื้อไม่ได้ ส่วนอาหารเบรกและอาหารเที่ยง ทุกอย่างผ่านการออกแบบ แม้จะเป็นอาหารพื้นถิ่นแต่สไตล์การจัดเป็นแบบฝรั่ง เขาก็จะว้าวเลย ภาชนะที่ใส่เป็นรางไม้ไผ่ยาว ๆ มีคนยกมาเหมือนกับการแห่บั้งไฟ นักท่องเที่ยวแตกตื่นไม่เคยเจอ นี่คือประสบการณ์ล้วน ๆ ผมให้ความหมายและนิยามที่ผมทำนะครับ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ ศูนย์สร้างแรงบันดาลใจ Local สู่เลอค่า”

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

สำหรับกิจกรรมการมาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่ได้มีแค่การมาเดินดูความสวยงาม ถ่ายรูป แล้วกลับไปเท่านั้น แต่คุณขาบ
มุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวสัมผัสถึงประสบการณ์ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

ตัวอย่างกิจกรรมภายในงานประชุมที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การใส่ชุดพื้นบ้านอย่างผู้ชายใส่โสร่ง ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าซิ่น การเปิดประสบการณ์รับประทานอาหารพื้นถิ่นที่เลือกเสิร์ฟในรางไม้ไผ่สไตล์ Local Chef’s Table (ให้อารมณ์คล้าย ๆ กับประเพณีแห่บั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของภาคอีสาน) การห่อข้าวต้มผัดแบบวิถีพื้นบ้าน และการกินอาหารพาแลงอีสานแบบวิถีนั่งพื้น เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้คือการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ชีวิตที่น่าจดจำให้กับนักเดินทางได้อย่างน่าประทับใจ

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

การหวนกลับมายังบ้านเกิดในครั้งนั้นของคุณขาบ เรียกว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็นอย่างมาก นอกจากจะได้รับรางวัลระดับนานาชาติอันน่าภาคภูมิใจแล้ว ยังถือเป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยตัวเอง ทั้งด้านอาหารพื้นถิ่น ผลิตภัณฑ์การเกษตร และการท่องเที่ยวชุมชน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนมากขึ้น รายได้ของคนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจในชุมชนหมุนสะพัดมากขึ้นด้วย


เสน่ห์อาหารท้องถิ่นไทย Soft Power ที่สามารถไปไกลสู่สากล

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

“อาหารบ้านเราเป็นเรื่องที่โดดเด่นมาก แต่การส่งเสริมไม่ได้ไปเสริมภาคอาหารที่เป็นสินค้าหลัก
ของประเทศ กลับไปโดดเด่นเรื่องของดีไซน์เสื้อผ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ มันเลยไม่สอดคล้องไปด้วยกัน อุตสาหกรรมอาหารจึงขาดการนำเสนอและดีไซน์ไม่เป็นสากล”


th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

คุณขาบมองว่าประเทศไทยมีวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นอยู่แล้ว แต่ยังขาดการนำเสนอที่ดี ดังนั้น การยกระดับภาพลักษณ์ของธุรกิจอาหารในประเทศไทยจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการดีไซน์ให้เทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล ศิลปะการสร้างสรรค์อาหารจึงต้องมี “(วิทยา) ศาสตร์” และ “ศิลป์” ควบคู่กันไปเสมอ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “การวิเคราะห์วัตถุดิบ” ซึ่งต้องมองให้ลึกจนถึงแก่นแท้ จากนั้นใช้เทคนิคการเลือก “คู่สี” ในการออกแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าหรืออาหารนั้น ๆ ดูสวยมีระดับได้ โดยที่ไม่ทิ้งวิถีความเป็นท้องถิ่น

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

“ต้นทุนวัฒนธรรมชุมชนของไทยคือ ความละเมียดละไมและความมีเสน่ห์ โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ ที่มีการนำ Soft Power เข้ามาใช้ในองค์กร การที่องค์กรนำความยั่งยืนและความเอาใจใส่ต่อชุมชนมาเป็น Soft Power เพื่อกระตุ้นการรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมนี่แหละ จะสร้างเอกลักษณ์และกลายเป็นเป้าสายตาที่น่าจับตามองที่สุด”

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

แม้ว่าอาหารท้องถิ่นไทยจะมีเสน่ห์ของวัตถุดิบและรสชาติที่มีเอกลักษณ์ในตัวเองอยู่แล้ว แต่การยกระดับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด ผ่านการประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์หรือการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมด้วย จะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

th-th.facebook.com LifeCommunityMuseumBuengkan

MICE Outlook EP หน้า ขอเอาใจผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการจัดงานประชุมสัมมนากันบ้าง โดยเราจะพาไปดูตัวอย่างงานประชุมที่ยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงาน ผ่านการจัดงานแบบไฮบริด จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง รอติดตามพร้อมกัน!

อ้างอิง
  Business Events Thailand. MEET THE EXPERTS l บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด.
•. Karb Studio รับสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าภาคการเกษตร และธุรกิจอาหารแบบครบวงจร.
•  สินีพร มฤคพิทักษ์. สุทธิพงษ์ สุริยะ ออกแบบแนวคิดด้วยปรัชญา “นำ Local สู่ เลอค่า”.
•  อลิศร์ ชมถาวร. รู้จัก ขาบ สุทธิพงษ์ ฟู้ดสไตลิสต์ ที่นายกฯ เอ่ยชม หลังคว้า 2 รางวัลกูร์มองด์ อวอร์ด.
•  วรนุช มูลมานัส. ยลพิพิธภัณฑ์ชุมชนบึงกาฬ สัมผัส‘โลคอลสู่เลอค่า’. 

Rating :