A Leading MICE Destination Empowered by Soft Power in Sports จุดหมายปลายทางการจัดงานไมซ์ที่ขับเคลื่อนโดย Soft Power ด้านกีฬา

Author : MICE Intelligence Team
Views 5363 | 25 Mar 2024
“THAI FIGHT” เวทีการแข่งขันมวยไทยที่ได้รับความนิยมระดับโลก จากฐานแฟนผู้รับชมทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 100 ล้านคน จากการปรับรูปแบบการแข่งขันกีฬามวยไทยให้เหมาะกับสมัยใหม่ แต่ยังคงนำอัตลักษณ์ของมวยไทยเป็นธีมหลักในการจัดงาน ซึ่งกีฬา “มวยไทย” ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่แข็งแกร่ง และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล ทำให้กีฬามวยไทยไม่ได้เป็นเพียงแค่ศิลปะการต่อสู้ แต่ยังเป็นพื้นที่ในการสร้างเครือข่าย และสร้างอารมณ์ร่วมให้แก่นักเดินทางทั่วโลกเดินทางมายังประเทศไทย

MICE Outlook สัปดาห์นี้ เราจะขอพาทุกท่านร่วมอ่านบทสนทนาสุดพิเศษกับ คุณโจ นพรัตน์ พุทธรัตนมณี Managing Director Production บริษัท ไทย ไฟท์ จำกัด รายการมวยไทย สปอร์ต เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จะมาร่วมแชร์มุมมอง และแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมด้านกีฬามวยไทยให้กลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ เพื่อสร้าง Ecosystem และยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์สู่ความสำเร็จบนเวทีโลก


เปิดเส้นทาง THAI FIGHT การจัดงานแข่งขันกีฬาที่สร้างสรรค์ของคนไทย

ก่อนที่จะสร้างชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้จัดรายการมวยไทย THAI FIGHT คุณโจ นพรัตน์ พุทธรัตนมณี เคยผ่านประสบการณ์ในหลากหลายบทบาท หนึ่งในนั้นคือผู้กำกับภาพยนตร์ที่สร้างผลงานมากกว่า 40-50 เรื่อง ทว่าในยุคนั้นวงการภาพยนตร์ไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่จากการแพร่ระบาดของเทปผีซีดีเถื่อน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจภาพยนตร์ ถือเป็นการเผชิญอุปสรรคและบททดสอบสำคัญที่ทำให้ต้องมานั่งคิดทบทวนว่าเส้นทางของภาพยนตร์จะเป็นอย่างไรต่อไป จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทไปยังเส้นทางอื่น ๆ โดยอาศัยความสามารถที่มีด้าน การเล่าเรื่อง และการถ่ายทำภาพยนตร์” เพื่อสร้างผลงานความบันเทิงในรูปแบบที่แตกต่างออกไป


จึงเป็นจุดเริ่มต้นการตัดสินใจหันมานำเสนอผลงานเกี่ยวกับกีฬาที่ตนเองชื่นชอบอย่าง มวยไทย” แม้ในยุคสมัยนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับจากคนไทยเท่าที่ควร เนื่องจากถูกมองว่าเป็นการพนัน แต่คุณนพรัตน์กลับมองมวยไทยในมุมที่แตกต่าง และอยากนำเสนอศิลปะการต่อสู้ของคนไทย ในแง่มุมของความแข็งแกร่งที่งดงาม ผ่านการผสมผสานวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงภาพจำเชิงลบดังกล่าว โดยการปรับภาพลักษณ์ทั้งหมดของมวยไทยให้เป็น Global Standard ทั้งในด้านกฎกติกาการให้มีความเป็นสากล รูปแบบการแข่งขันที่ทันสมัย และสร้างเรื่องราวปรับตัวตนของนักมวยให้ดูเท่และเป็นฮีโร่ จนทำให้เป็นรายการมวยเรตติ้งอันดับหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้การยอมรับ


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=803876905114904&set=pb.100064778046591.-2207520000&type=3

https://www.facebook.com/photo/?fbid=740948424741086&set=pb.100064778046591.-2207520000


มวยไทย” ศาสตร์การต่อสู้ที่มากกว่าแค่กีฬา ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

“Soft Power" ด้านกีฬามวยไทยเป็นการนำเสนอต้นทุนทางวัฒนธรรมจากสิ่งที่ประเทศไทยมี เพื่อสื่อสารกับคนทั่วโลก โดยจะต้องสร้างคุณูปการ สร้างผลประโยชน์ให้กับคนไทยหรือประเทศไทย ซึ่งศิลปะการต่อสู้มวยไทย เต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ ทำให้ในปัจจุบันกีฬามวยไทยได้กลายเป็นหนึ่งวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ (5F) ของประเทศที่สามารถส่งเสริมให้เป็น Soft Power ที่แข็งแกร่ง และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โดยผลการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมกีฬาในปี พ.ศ. 2566 ได้เผยให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจว่า มูลค่าของตลาดมวยไทยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 40จากการเทรนนิ่ง ฝึกซ้อม 35จากการจัดจำหน่วยอุปกรณ์มวยไทย และ 25% จากการจัดงานอีเวนต์ มวยไทยจึงเป็นมากกว่ากีฬา แต่เป็น “Soft Power” สำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และนักเดินทางทั่วโลกต่างให้ความสนใจต้องการที่จะเดินทางมาประเทศไทย เพื่อสัมผัสประสบการณ์ด้านกีฬาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=732015665634362&set=pb.100064778046591.-2207520000&type=3

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=687622146740381&set=pb.100064778046591.-2207520000&type=3


“THAI FIGHT ขยายเส้นทางการจัดงาน สู่แหล่งชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม

หากพูดถึงรูปแบบรายการแข่งขันมวยไทย หลายคนคงนึกถึงการต่อสู้ที่ดุเดือดจริงจัง แต่สำหรับTHAI FIGHT รายการมวยไทยที่โด่งดังระดับโลก รูปแบบการจัดการแข่งขันนั้นกลับมีความแตกต่างไม่เหมือนใคร ด้วยการจัดเวที แสง สี เสียง ใส่ความบันเทิงเข้าไป มีการปรับรูปแบบการแข่งขันให้ทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้นโดยยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยได้อย่างแยบยล จนกลายเป็นเวทีประลองมวยไทยที่ผสมผสานความดั้งเดิมและความทันสมัยได้อย่างลงตัว การจัดการแข่งขันเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ และดำเนินการจัดงานอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยในปัจจุบันจัดการแข่งขัน ณ ศูนย์การประชุมไบเทคบางนา ทำการเผยแพร่ทางโทรทัศน์และ Live Streaming ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้รับชมทั่วโลก อยากเข้ามาสัมผัสประสบการณ์กีฬามวยได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เพื่อยกระดับภาพลักษณ์และต่อยอดเส้นทางของการจัดงาน รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับแหล่งชุมชนในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ทาง THAI FIGHT ได้ขยายเส้นทางการจัดงานแข่งขันมวยไทย สู่พื้นที่ต่างจังหวัดทั้งเมืองหลัก และเมืองรอง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับกีฬามวย และกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค การเดินสายจัดงานการแข่งขันกีฬามวยไทยของทาง THAI FIGHT นับว่าประสบความสำเร็จจากการมีผู้เข้าชมหลายหมื่นคน ซึ่งทางคุณนพรัตน์ ได้ยกตัวอย่าการจัดงานแมตช์สำคัญในจังหวัดยะลา ที่มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 70,000 คน นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน


https://th.postupnews.com/2017/07/thaifight-yala-success.html


ซึ่งทาง THAI FIGHT มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสุข และมอบความบันเทิงในแก่ผู้คนในท้องถิ่น จึงเดินทางลงภาคใต้ และจัดการแข่งขันมวยไทย โดยใช้ชื่อว่า “THAI FIGHT เรารักยะลา” ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีอย่างล้นหลามจากผู้คนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงอย่างจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส ต่างก็เดินทางไปเข้าร่วมงาน ทำให้เห็นถึงพลังของมวยไทยได้กลายเป็น Soft Power ที่สามารถเชื่อมโยงความสนใจของผู้เข้าร่วมงาน และสร้างเครือข่ายสำหรับผู้ที่มีความชื่นชอบ และสนใจในด้านกีฬา

แต่กว่าจะเดินทางมาถึงจุดนี้ เบื้องหลังของความสำเร็จ ทาง THAI FIGHT ต้องพบเจอกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ แต่นั่นไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด โดยคุณนพรัตน์ได้แชร์กับเราว่า การจัดงานในพื้นที่ท้องถิ่นจะต้องเจอกับอุปสรรค ทางด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเข้าใจทางการสื่อสาร และการยอมรับ ดังนั้น ผู้จัดจะต้องหาจุดเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น สื่อสารกับคนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และชักจูงให้เกิดความเชื่อมั่น เพื่อให้สามารถซื้อใจของผู้คนในพื้นที่ได้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาบริบท และสภาพแวดล้อมในสถานที่จัดงาน เพื่อให้การจัดงานดำเนินไปอย่างราบรื่น

https://th.postupnews.com/2017/07/thaifight-yala-success.html


ขับเคลื่อน Soft Power ผ่านการดำเนินงานด้วยข้อมูล และความร่วมมือจากพันธมิตร

มวยไทยถือเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่กลับกลายเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งการจะต่อยอดให้วัฒนธรรมทางด้านกีฬาของประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง และสร้างคุณค่าให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกลยุทธ์ให้เข้ากับบริบท และสถานการณ์ในยุคใหม่มากขึ้น ด้วยการนำข้อมูล และความร่วมมือ มาเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน

ซึ่งคุณนพรัตน์ ได้แชร์มุมมองถึงเรื่องการผลักดันอุตสาหกรรมมวยไทยสู่เวทีโลกว่าปัจจุบันเป็นยุคของการใช้ข้อมูล ฉะนั้น การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกีฬามวยไทยให้เป็น Soft Power อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลด้านมวยไทย เช่น กระบวนท่าของนักมวยแค่ละคนเพื่อให้สามารถนำมาเป็นศูนย์การเรียนรู้มวยไทยได้ในอนาคต ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานของค่ายมวยในประเทศไทย เพื่อให้นักเดินทางสามารถค้นหาข้อมูลได้จากทั่วโลก และทำการจดลิขสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของด้านกีฬามวยไทย” การจัดเก็บข้อมูล และทำการจดลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมกีฬามวยไทย และเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มวยไทยของโลก


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=753021236867138&set=pb.100064778046591.-2207520000&type=3

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=786188456883749&set=pb.100064778046591.-2207520000&type=3


นอกเหนือจากเรื่องการเก็บข้อมูล อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับบริบทยุคสมัยใหม่คือ การร่วมมือกัน (Collaboration) โดยคุณนพรัตน์ ได้มีมุมมองในเรื่องนี้ว่า ในอดีตการอุปถัมภ์ทางด้านธุรกิจเปรียบเสมือนรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ แต่ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ คือ การรวมพลังสร้าง " เครือข่าย " ที่ทุกฝ่ายต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน” การพัฒนาอุตสาหกรรมมวยไทยจึงต้องพิจารณาถึงการร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งอาจจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือข้ามอุตสาหกรรม เช่น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการฝึกซ้อม และประสานงานในการบริหารจัดการ รวมถึงการสร้างพันธมิตรกับสื่อเพื่อสร้างการตลาดที่มั่นคงและยั่งยืน โดยจำเป็นต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้กลายเป็น “Ecosystem ของอุตสาหกรรมมวยไทย”

https://www.siamsport.co.th/other-sports/boxing/5000/


ดังตัวอย่าง การร่วมมือระหว่าง THAI FIGHT และ อินฟลูเอนเซอร์ จากโลกออนไลน์เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทย ในการจัดงาน “IDOL FIGHT” โดยใช้แม่ไม้มวยไทย ศิลปะการต่อสู้ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน มาออกลีลาต่อสู้กันเพื่อเฟ้นหาผู้ชนะการแข่งขัน และนำเงินรางวัลที่ได้คืนสู่สังคม ผ่านการบริจาคให้กับมูลนิธิต่าง ๆ การร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้ทาง THAI FIGHT ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีจากผู้ชม โดยมียอดผู้เข้าชมกว่า 100 ล้านวิว ตลอด 3 ซีซั่น จึงถือเป็นการสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างกีฬามวยไทย และคนรุ่นใหม่ที่เป็นฐานแฟนของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ให้ได้เห็นความสวยงาม และเสน่ห์ของกีฬามวยไทย เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมไมซ์หากปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และรูปแบบการจัดงานผ่านการร่วมมือ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายพื้นที่การสร้างเครือข่าย และเพิ่มมูลค่า สร้างความน่าสนใจให้กับกิจกรรมไมซ์ได้

https://mgronline.com/entertainment/detail/9650000105934


ไมซ์ ขับเคลื่อนกีฬามวย Soft Power สู่เวทีสากล

ทาง THAI FIGHT นำกีฬามวยไทยเป็นสื่อในการสื่อสารวัฒนธรรมแก่ผู้คนทั่วโลก ผ่านมุมมองของการเป็นผู้รับชมให้กลายเป็น “แฟนด้อม หรือ อาณาจักรของแฟนคลับ” เพื่อให้เกิดฐานแฟนที่เหนียวแน่น และกลับเข้ามารับชมการแข่งขันมวยอยู่เสมอ

ซึ่งคุณนพรัตน์ ได้ถอดบทเรียนจากการจัดการแข่งขันมวยไทยมามากกว่า 10 ปี และฝากถึงผู้ประกอบการไมซ์ได้อย่างน่าสนใจว่า ถ้าผู้ประกอบการไมซ์ สามารถถ่ายทอดแก่นสำคัญของการจัดงาน ธีมการจัดงาน เนื้อหาภายในงาน สร้างบรรยากาศที่ดี จะสามารถสร้างอารมณ์ร่วมได้ จากจุดนี้จะต่อยอดสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่นักเดินทางไมซ์อยากกลับมาร่วมกิจกรรมอีกครั้งในอนาคต” ซึ่งเหมือนกับกีฬามวยไทยที่แสดงการต่อสู้ที่เข้มข้นด้วยกระบวนท่าที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้รับชมได้เห็นการแข่งขันที่สนุก ดุเดือด แต่ในขณะเดียวกันบรรยากาศของงาน และรูปแบบการจัดงานที่เร้าอารมณ์ จะช่วยเสริมให้ผู้รับชมเกิดอารมณ์ร่วม และสร้างความทรงจำที่ดี จนทำให้ได้ฐานแฟนคลับที่ไม่อยากพลาดทุกการแข่งขัน


Rating :